|
3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม ประเทศไทยดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบผูกมิตรกับ
ทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศมหาอำนาจ แม้ว่าในยุคเริ่มต้นประชาธิปไตยนั้น
ไทยจะมีความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการเมืองกับญี่ปุ่นมากขึ้น แต่ก็ยังรักษาความสัมพันธ์อันดี
กับประเทศมหาอำนาจยุโรปและสหรัฐอเมริกาไว้ ด้วยเหตุนี้ความสัมพันธ์ด้านสังคม
และวัฒนธรรมระหว่างไทยกับประเทศมหาอำนาจจึงมีลักษณะดังนี้
1) การจ้างที่ปรึกษาราชการ ประเทศไทยจ้างชาวยุโรปและอเมริกาให้รับราชการ
เป็นที่ปรึกษางานด้านต่างๆ
2) การส่งนักเรียนไทยไปศึกษาต่อต่างประเทศ รัฐบาลไทยได้ส่งนักเรียนที่เรียนดี
รวมทั้งประชาชนทั่วไปได้ส่งบุตรหลานไปศึกษาวิชาการสมัยใหม่ในยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
3) การได้รับการสนับสนุนจากญี่ปุ่น รัฐบาลญี่ปุ่นได้ส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านสังคม
และวัฒนธรรมกับประเทศให้มากขึ้น เช่น ให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทยไปศึกษาต่อที่ญี่ปุ่น เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ประชาชนไทยส่วนใหญ่ยังคงมีค่านิยมในศิลปวัฒนธรรมของยุโรป และสหรัฐอเมริกา
มากกว่าญี่ปุ่น โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีซึ่งสูงกว่าญี่ปุ่น นอกจากนี้ผู้สนับสนุนให้ชาวญี่ปุ่นเข้ามา
ประกอบธุรกิจและท่องเที่ยวในประเทศไทยมากเป็นพิเศษ
นโยบายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยยุคปัจจุบัน
|
|
|
การกำหนดนโยบายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยในยุคปัจจุบัน
อาศัยองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการดังนี้
1. องค์ประกอบภายในประเทศ องค์ประกอบภายในที่สำคัญที่รัฐบาลมักจะนำมา
ประกอบการพิจารณาในการกำหนดนโยบายต่างประเทศมี 4 ประการดังนี้
1) การเมืองภายในประเทศ หมายถึง สถานการณ์ทางการเมืองที่เป็นผลจากการเคลื่อนไหว
และพฤติกรรมของผู้นำทางการเมืองกลุ่มผลประโยชน์ และพรรคการเมืองที่แสดงออกผ่านทาง
สถาบันทางการเมืองและสื่อมวลชนในประเทศซึ่งมีทั้งการขัดแย้งและความร่วมมือกันในเหตุการณ์ต่าง ๆ
2) เศรษฐกิจภายในประเทศ หมายถึง ลักษณะและระดับของการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
ตลอดจนกระบวนการทางเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งเป็นผลจากการเคลื่อนไหวและพฤติกรรม
ของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ อาทิ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มแรงงานและกลุ่มธุรกิจ เป็นต้น
ซึ่งอาจขัดแย้งกันหรืออาจร่วมมือกันเพื่อกดดันรัฐบาลดำเนินการพิทักษ์ผลประโยชน์ของกลุ่มตน
อาจกล่าวได้ว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มผลประโยชน์เหล่านี้จะมีผลกระทบทั้งทางตรง
และทางอ้อมต่อการกำหนดนโยบายต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจ
3) อุดมการณ์ของชาติ หมายถึง ระบบความคิด ความเชื่อเกี่ยวกับสังคมในชาติถือว่าเป็นสิ่ง
ที่ดีงามที่จะต้องรักษาไว้ สำหรับอุดมการณ์ของชาติไทย ซึ่งคนไทยยึดมั่นรวมกันมาช้านานแล้ว
และต้องการรักษาไว้ตลอดไปคือ ความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์
4) สภาพภูมิศาสตร์ของประเทศ สภาพภูมิศาสตร์ของประเทศเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนด
นโยบายต่างประเทศ เนื่องจากพื้นที่ของประเทศไทยมีรูปร่างเหมือนขวาน ซึ่งพื้นที่ตอนบนมี
เขตแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน 3 ประเทศ คือ พม่า ลาวและกัมพูชา ส่วนพื้นที่ตอนล่าง
เป็นแผ่นดินที่ยื่นออกไปในมหาสมุทรจึงล้อมรอบไปด้วยทะเลทั้งด้านตะวันตกและตะวันออก
อีกทั้งมีเขตแดนดินติดกับประเทศเพื่อนบ้านอีก 2 ประเทศ คือ พม่า และมาเลเซีย ซึ่งมีลักษณะ
ทางภูมิศาสตร์ที่เป็นโทษมากกว่าที่เป็นคุณต่อประเทศไทย นอกจากนี้ ประชากรของไทยในปัจจุบัน
ส่วนใหญ่พูดภาษาไทยและนับถือศาสนาพุทธและอีกส่วนหนึ่งซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อย ได้แก่
ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม เช่น ชาวไทยใน 4 จังหวัดภาคใต้และผู้ที่นับถือภูติผีปีศาจ
แม้สภาพทางภูมิศาสตร์จะเป็นคุณแก่ประเทศไทย แต่ปัญหาที่เกิดจากสภาพภูมิศาสตร์
ที่ต้องแก้ไขปัญหาตลอดเวลา เช่น มีพื้นที่และอาณาเขตติดกับประเทศเพื่อนบ้าน
ซึ่งยังได้ปักปันเขตแดนให้ชัดเจน อีกทั้งฝั่งทะเลมีความยาวและไม่ติดต่อกันซึ่งยากแก่การป้องกันได้
นอกจากนี้ยังมีปัญหากับชนกลุ่มน้อยที่นับถือศาสนาอื่นและไม่ได้ใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันเป็นต้น
จากสภาพภูมิศาสตร์ทั้งที่เป็นคุณและโทษต่อประเทศไทยดังกล่าว
นโยบายต่างประเทศที่ผ่านมาส่วนใหญ่ยึดนโยบายผูกมิตรกับนานาประเทศ ที่มีผลประโยชน์สอดคล้อง
กับประเทศไทย หรืออาจคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศ
2. องค์ประกอบภายนอกประเทศ หมายถึง ระบบระหว่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วย ระบบระหว่างประเทศระดับโลก
หรือระบบโลก ที่เกิดจากพฤติกรรมของมหาอำนาจเป็นส่วนใหญ่ ปัจจัยภายนอกที่สำคัญที่มีส่วนกดดันให้รัฐบาลไทย
ซึ่งเป็นประเทศระดับกลางมักจะนำมาประกอบการพิจารณาเพื่อกำหนดนโยบายต่างประเทศ
เพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติมีดังนี้
1) การแข่งขันเพื่อขยายอำนาจของมหาอำนาจ การแข่งขันเพื่อขยายอำนาจของมหาอำนาจ
ทั้งอดีตและปัจจุบันมีผลกระทบต่อประเทศไทยเสมอ เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในบริเวณที่
เป็นจุดยุทธศาสตร์ของโลก จึงทำให้มหาอำนาจสนใจที่จะแผ่เข้ามาครอบงำและแสวงผลประโยชน์
2) การขัดแย้งทางอุดมการณ์ของมหาอำนาจ ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อประเทศขนาดกลาง
และขนาดเล็กทั่วโลกโดยทำให้ประเทศเหล่านี้ต้องตัดสินใจว่าจะรับเอาอุดมการณ์ของมหาอำนาจใด
มหาอำนาจหนึ่งมาเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายต่างประเทศของตนหรือไม่ สำหรับรัฐบาลไทย
เลือกดำเนินนโยบายสนับสนุนสหรัฐอเมริกาทั้งในด้านการเมืองและการทหารในการต่อต้านคอมมิวนิสต์
เนื่องจากไม่ต้องการลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งลัทธิดังกล่าวมุ่งทำลายสถาบันสำคัญคือ ชาติ ศาสนา
และพระมหากษัตริย์
3) การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและการทหารในเอเชีย การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
เป็นการเปลี่ยนแปลงในระบบระหว่างประเทศระหว่างภูมิภาค เป็นปัจจัยภายนอกที่มีส่วนกดดันให้ประเทศไทย
ต้องปรับนโยบายต่างประเทศให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางด้านการเมืองและการทหารที่เปลี่ยนไป
สำหรับการเมืองของไทยมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ในขณะที่ด้านการทหารมีนโยบายลดขนาดกำลังพลลง
เพื่อให้เกิดความคล่องตัวแต่เพิ่มสมรรถนะความเข้มแข็งให้เพิ่มมากขึ้น
สำหรับนโยบายด้านการต่างประเทศในปัจจุบัน รัฐบาลได้เน้นการทูตเชิงรุกด้านเศรษฐกิจ
พร้อมกับการทูตด้านอื่น ๆ เพื่อฟื้นฟูและสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศในทุกด้าน
ให้การคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของประเทศ รวมทั้งของภาคเอกชนไทย แรงงานไทย
และคนไทยในต่างประเทศ ตลอดจนความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
และประเทศในภูมิภาคเอเชีย ทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคี เพื่อนำมาซึ่งความเข้าใจอันดีระหว่างกัน
ในการแก้ไขปัญหาและการแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ จริงใจและโดยสันติวิธี
|
|
|
ผลกระทบของนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
|
|
|
ผลกระทบของนโยบายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
นโยบายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยด้านต่างๆดังนี้
1. ด้านการเมือง เมื่อญี่ปุ่นประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษแล้ว ต่อมารัฐบาลไทยได้ทำสัญญาร่วมรบ
กับญี่ปุ่นและได้ประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ส่งผลให้ไทยเป็นประเทศคู่สงครามกับทั้งสองประเทศอย่างเต็มที่
อังกฤษรวมทั้งออสเตรเลียซึ่งเป็นประเทศในเครือจักรภพได้ประกาศสงครามกับประเทศไทย
ขณะเดียวกันสหรัฐอเมริกากลับไม่ยอมประกาศสงครามกับไทย ด้วยเหตุผลที่ว่าการประกาศสงครามไม่ได้เกิดจาก
ความต้องการของคนไทยอย่างแท้จริง และถือว่าไทยถูกญี่ปุ่นยึดครองต้องให้ความช่วยเหลือ
อย่างไรก็ตามผลกระทบด้านการเมืองต่อประเทศไทย หลังจากร่วมมือกับญี่ปุ่นในการทำสงครามกับอังกฤษ
และสหรัฐอเมริกามีหลายประการดังนี้
1) เกิดอำนาจเผด็จการทหาร มีการรวมอำนาจทางทหารไว้ที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรีซึ่งดำรงตำแหน่งทั้งผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการทหารบกด้วยในฐานะนายกรัฐมนตรียังสามารถ
สั่งการตำรวจและพลเรือนได้ทั้งหมด ซึ่งถือว่านายกรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการในประเทศได้อย่างเด็ดขาด
2) เกิดความรู้สึกชาตินิยม เนื่องจากเกิดภาวะสงคราม ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภคและภาวะเงินเฟ้อรัฐบาลได้ส่งเสริมให้
คนไทยนิยมใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศไทยอย่างจริงจัง ด้วยการปลุกเร้าความรู้สึกชาตินิยมให้ประชาชนไทย
ช่วยกันสร้างชาติให้เข้มแข็งทัดเทียมอารยประเทศโดยใช้คำขวัญว่าไทยทำไทยใช้ไทยเจริญเป็นต้น
3) เกิดขบวนการเสรีไทย การประกาศสงครามของไทยในครั้งนี้ได้รับการคัดค้านจากผู้นำของประเทศหลายคน
เช่น นายปรีดี พนมยงค์ และนายดิเรก ชัยนาม ซึ่งได้ร่วมกันก่อตั้งขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นขึ้นในประเทศไทย
ชื่อว่า ขบวนการเสรีไทย ขณะเดียวกัน ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช อัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตันก็ได้ประกาศก่อตั้ง
ขบวนการเสรีไทยขึ้นเช่นกัน โดยขอการสนับสนุนจากอังกฤษและสหรัฐอเมริกาเพื่อต่อต้านญี่ปุ่นและปลดปล่อยประเทศไทยต่อไป
ทั้งนี้ขบวนการเสรีไทยทั้งในและนอกประเทศได้มีส่วนช่วยให้ไทยพ้นจากการเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม
โดยนายปรีดี พนมยงค์ ในฐานะหัวหน้าขบวนการเสรีไทยแห่งประเทศไทย ได้ช่วยให้ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
หัวหน้าขบวนการเสรีไทยในสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับการยอมรับจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเดินทางกลับไทยเพื่อรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
4) เกิดเป็นศัตรูกับชาติมหาอำนาจ เมื่อรัฐบาลไทยประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ
ความสัมพันธ์ฉันท์มิตรที่ผ่านมาได้กลายเป็นศัตรู โดยเฉพาะอังกฤษมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจในประเทศไทยอยู่มาก
เมื่อมีข่าวว่าญี่ปุ่นสนับสนุนไทยเพื่อขุดคลองบริเวณคอคอดกระเพื่อเชื่อมมหาสมุทรอินเดียกับอ่าวไทย
หากดำเนินการสำเร็จก็จะมีร้ายทางยุทธศาสตร์ต่ออังกฤษอย่างมาก เนื่องจากจะทำให้ญี่ปุ่นมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจในไทยเพิ่มขึ้น
และญี่ปุ่นสามารถคุมเส้นทางเดินเรือระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับอ่าวไทย และลดความสำคัญของสิงคโปร์ รวมทั้งช่องแคบมะละกา
ลงอย่างมาก ด้วยเหตุนี้สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงประเทศไทยจำต้องทำความตกลงกับอังกฤษในระยะหลังสงคราม
โดยต้องยอมปฏิบัติตามความต้องการบางประการของอังกฤษ คือ จะไม่มีการขุดคลองในดินแดนของประเทศไทย
เพื่อเชื่อมอ่าวไทยกับมหาสมุทรอินเดีย เว้นแต่อังกฤษจะให้ความยินยอม
2. ด้านเศรษฐกิจ ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากการดำเนินความสัมพันธ์
กับต่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจในลักษณะที่ได้เปรียบดุลการค้ากับต่างประเทศ นอกจากนั้น ประเทศไทยยังเก็บภาษีศุลกากร
ได้เป็นจำนวนมาก แต่หลังจากที่ญี่ปุ่นประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา และดึงเอาประเทศไทยเข้าไปร่วมในสงครามด้วย
ทำให้การค้าระหว่างประเทศไทยกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาหยุดชะงักลง เพราะประเทศไทยสามารถทำการค้ากับญี่ปุ่น
ได้เพียงประเทศเดียวเท่านั้น ยังผลให้ประเทศไทยได้รับภาษีศุลกากรลดลงมาก และการที่การค้าระหว่างประเทศ
ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงนี้ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทยอย่างร้ายแรงดังนี้
1) ค่าครองชีพสูงขึ้น
2) เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง
3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม รัฐบาลในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ปฏิวัติสังคมและวัฒนธรรมไทย
เพื่อให้มีความทันสมัยเหมือนประเทศตะวันตกและญี่ปุ่น โดยการประกาศรัฐนิยม และจัดตั้งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติขึ้นดังนี้
1) การสร้างสำนึกชาตินิยม รัฐบาลได้ประกาศใช้รัฐนิยมจำนวน 12 ฉบับ อาทิการเปลี่ยนชื่อประเทศสยามเป็นประเทศไทย
การกำหนดหน้าที่ให้คนไทยยืนเคารพธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี การใช้ของที่ผลิตขึ้นในประเทศไทย
การแต่งกายของชาวไทย และกิจวัตรประจำวันของคนไทยนั้น เป็นต้น
2) การปฏิวัติวัฒนธรรม รัฐบาลได้จัดตั้งสภาวัฒนธรรมขึ้นในปี พ.ศ. 2485 เพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม
และวิถีชีวิตของคนไทยให้เป็นไปตามรัฐนิยมซึ่งมีดังนี้
1. ด้านจิตใจ รัฐบาลได้ส่งเสริมให้คนไทยประกอบอาชีพตั้งแต่ค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ จนกระทั่งถึงอุตสาหกรรมป่าไม้และเหมืองแร่ เป็นต้น
2. ด้านระเบียบประเพณี รัฐบาลได้ยกเลิกประเพณีบางอย่าง เช่น เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 13 เมษายน
มาเป็นวันที่ 1 มกราคม ตามหลักสากลนิยม และยกเลิกบรรดาศักดิ์ต่าง ๆ ที่บุคคลได้รับลพระราชทานมาจากพระมหากษัตริย์
เพื่อทำให้ทุกคนเสมอกันในกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ
3. ด้านศิลปกรรม ได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากรขึ้นในปี พ.ศ. 2486 เพื่อค้นคว้าและส่งเสริมวัฒนธรรม
และด้านศิลปกรรมของไทยและมีการปรับปรุงการละเล่นพื้นเมืองทางภาคอีสาน เช่น รำโทน ให้มีความสุภาพและเรียกชื่อใหม่ว่า
รำวงซึ่งรัฐบาลได้เผยแพร่ให้ข้าราชการฝึกรำวงกันทั่วประเทศ
4. ด้านวรรณกรรม ได้ปรับปรุงภาษาไทยใหม่เพื่อให้ง่ายต่อการเรียน โดยลดตัวอักษรที่ไม่จำเป็นลงจาก 44 ตัว
เหลือ 32 ตัว เช่น ตัดอักษร ฆ ษ และ ฒ ออกไป เป็นต้น
5. ด้านการปฏิบัติต่อสตรี รัฐบาลได้ยกย่องสตรีให้มีฐานะเท่าเทียมชายเกือบทุกประการ
|
|
|
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความหมาย
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐ
ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยรัฐหรือตัวแสดงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่รัฐ ซึ่งส่งผลถึงความร่วมมือหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศต่าง ๆ ในโลก
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล หรือสังคม
ซึ่งเกิดขึ้นข้ามขอบเขตของกลุ่มสังคมการเมืองหนึ่ง ๆ
ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือการแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐดังที่กล่าวข้างต้น
นั้นอาจมีลักษณะแตกต่างกันดังนี้
1. ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาจกระทำอย่างเป็นทางการโดยรัฐ
เช่นการประชุมสุดยอด การดำเนินการทางการฑูต หรืออาจเป็นการกระทำไม่เป็นทางการ เช่นการก่อการร้ายของอีกประเทศหนึ่ง
ซึ่งไม่ได้กระทำการในนามของรัฐ เป็นต้น
2. ความสัมพันธ์ในลักษณะร่วมมือหรือขัดแย้ง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น หากไม่ร่วมมือก็ขัดแย้ง
ความสัมพันธ์ในลักษณะขัดแย้ง เช่น สงคราม การแทรกแซงบ่อนทำลาย ส่วนความร่วมมือ ได้แก่ การกระชับความสัมพันธ์ทางการฑูต
การร่วมเป็นพันธมิตร การให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและวัฒนธรรมเป็นต้น
ขอบเขตของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีขอบเขตที่ครอบคลุมเรื่องต่างๆดังนี้
1. ความสัมพันธ์ทางการเมือง หมายถึง กิจกรรมข้ามพรมแดนเพื่อมีอิทธิพลหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตลอดจน
การตัดสินใจขององค์การหรือรัฐบางต่างประเทศ เช่นการดำเนินการทางการฑูต การทหาร การแสวงหาพันธมิตร
การแทรกแซงบ่อนทำลายประเทศอื่น การใช้กำลังบีบบังคับ การกำหนดและดำเนินนโยบายต่างประเทศ เป็นต้น
2. ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ หมายถึง กิจกรรมการแลกเปลี่ยนทรัพยากรด้านบริการหรือวัตถุเพื่อตอบสนอง
ความต้องการในการอุปโภคของผู้บริโภค
3. ความสัมพันธ์ทางสังคม หมายถึงกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยนทางการศึกษา การศาสนา วัฒนธรรม
การพักผ่อนหย่อนใจ การท่องเที่ยว ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ทางสังคมข้ามขอบเขตพรมแดนของรัฐ เช่น
การส่งฑูตวัฒนธรรมหรือคณะนาฎศิลป์ไปแสดงในประเทศต่าง ๆ การเผยแพร่ศาสนาโดยตัวแทนทางศาสนา
ของประเทศอื่นการเผยแพร่ศิลปะของประเทศหนึ่งในประเทศอื่นเป็นต้น
4. ความสัมพันธ์ทางกฎหมาย เมื่อมีการแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ข้ามเขตพรมแดนของรัฐมากขึ้น
เพื่อให้กิจกรรมดังกล่าวดำเนินไปโดยเรียบร้อยและมีระเบียบแบบแผน ประเทศต่าง ๆ จึงได้กำหนดกฎเกณฑ์ ระเบียบ
หรือแนวทางปฏิบัติที่แต่ละประเทศพึงยึดถือปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ขึ้น กฎเกณฑ์หรือระเบียบนี้อาจปรากฏในรูปข้อตกลงลายลักษณ์อักษร
ซึ่งมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เป็นต้นว่าสนธิสัญญา/อนุสัญญากติกา/สัญญากฎบัตรความตกลงฯลฯ
5. ความสัมพันธ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความสัมพันธ์ประเภทนี้มุ่งให้มีการแลกเปลี่ยนพัฒนาความรู้
และความช่วยเหลือทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น มีการร่วมมือค้นคว้าทดลองและวิจัย
การร่วมมือกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์หลายประเทศ เพื่อกำจัดโรคภัยไข้เจ็บสำคัญ เช่น โรคมะเร็ง
โดยสรุป ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีผลต่อความสงบเรียบร้อย การกินดีอยู่ดีและการพัฒนาของประชาชน
รัฐ และสังคมโลกทั้งโดยตรงและโดยอ้อม จึงนับว่ามีความสำคัญมีคุณค่าควรแก่การสนใจติดตามทำความเข้าใจ
ทั้งโดยนักวิชาการผู้กำหนดนโยบายและประชาชนโดยทั่วไป
|
|
|
|
หนังสืออ้างอิง |
|
|
กวี พันธุ์มีเชาว์ และคณะ. เกมลูกเสือ เนตรนารี 335 เกม (ฉบับปรับปรุง).พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543.
นิชัฎ คำสมาน. กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด, 2547.
มูลนิธิ, คณะลูกเสือแห่งชาติ. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ม.3. กรุงเทพ : อักษรเจริญทัศน์, 2548.
มูลนิธิ, คณะลูกเสือแห่งชาติ. กิจกรรมลูกเสือเนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ เครื่องหมายลูกเสือโลก.
กรุงเทพ : อักษรเจริญทัศน์, 2538.
อำนาจ เจริญศิลป์.นิทานรอบกองไฟ.พิมพ์ครั้งที่ 9.กรุงเทพฯ : รุ่งแสงการพิมพ์, 2546. |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|